วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 10 ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง



ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง



ประชาชนมีหน้าที่เลือกตั้ง
      มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้การไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของบุคคลเหมือนกับ หน้าที่การเสียภาษี ดังนั้นบุคคลที่มีสัญญาติไทยโดยการเกิด หรือได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในเขตเลือกตั้ง หรือนอกเขตเลือกตั้ง หรือแม้แต่พำนักอยู่ในต่างประเทศ ทุกคนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

    บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
2. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งการใช้สิทธิเลือกตั้ง
    ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. ผู้ที่มีสัญชาติไทย ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

    การตรวจดูรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ
2. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
3. ประชาชนสามารถไปตรวจดูรายชื่อ และขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งปี

บัตรเลือกตั้ง
    บัตรเลือกตั้งมี 2 แบบ
1. บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
2. บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

     ลักษณะของบัตรเลือกตั้งมีสีต่างกัน และมีต้นขั้วบัตรเลือกตั้งสำหรับพิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่มือขวา ที่มุมบนด้านขวาของบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 แบบ

    วิธีการใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง
1. แสดงบัตรประจำประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ที่หน่วยเลือกตั้ง
2. รับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 แบบ (บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 1 ใบ และบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 1 ใบ)
3. พิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่มือขวาที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว (ถ้ามีการร้องเรียนว่าที่หน่วยเลือกตั้งนั้นมีการทุจริตการเลือกตั้ง ต้นขั้วนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญในการตรวจสอบ)
4. เข้าคูหา ทำเครื่องหมายกากบาทในบัตรเลือกตั้ง
    - กากบาทเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงหมายเลขเดียว ที่บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
    - กากบาทเลือกพรรคการเมืองเพียงหมายเลขเดียว ที่บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
    - ถ้าไม่ต้องการลงคะแนนให้ใคร หรือพรรคการเมืองใด กากบาทที่ช่องไม่ลงคะแนน
5. หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยตนเองทีละใบ ต่อหน้ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
     ปัจจุบันการเลือกตั้งมี 2 แบบ คือ
1. การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
2. การเลือกตังแบบบัญชีรายชื่อ
     การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
    ส.ส. จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตมีจำนวน 400 คน
      มาตรา 98 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า "สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 99 จำนวน 100 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 102 จำนวน 400 คน" เลือกตั้ง ส.ส. เขตละ 1 คน
      มาตรา 102 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละ 1 คน"
      มาตรา 103 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า "จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 1 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 1 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง มีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีโดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน"ดังนั้นประเทศไทยจึงมีเขตเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 400 เขต

     การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
      การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรค โดยทั่วไปเรียกว่าเลือกตั้งแบบสัดส่วน พรรคต่าง ๆ จะได้ รับจำนวนที่นั่งในสภาฯ ตามสัดส่วนของคะแนนที่ได้รับ สำหรับพรรคที่ได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 5 ของคะแนนทั้งหมด ก็จะไม่ได้ที่นั่งในสภาฯ จากการเลือกตั้งระบบนี้
      การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครโดยเสนอเป็นรายชื่อเรียงลำดับไม่เกินบัญชีรายชื่อละ 100 คน บุคคลในบัญชีรายชื่อจะต้องไม่ซ้ำกับผู้สมัครแบบแบ่งเขต และผู้สมัครในบัญชีรายชื่อพรรคอื่น นอกจากนี้จะต้องประกอบด้วยรายชื่อจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม (ไม่ใช่มีแต่คนกรุงเทพฯ หรือคนในภูมิภาคหนึ่งใดโดยเฉพาะ) เมื่อมีการสมัครแล้วหมายเลขที่บัญชีรายชื่อนั้นได้รับ จะถือว่าเป็นหมายเลขประจำพรรคการเมืองนั้น ทั้งนี้การรับสมัครแบบแบ่งเขตจะกระทำขึ้นภายหลัง โดยผู้สมัครแบบแบ่งเขตที่ส่งโดยพรรคใดจะได้รับหมายเลขเดียวกันกับพรรคนั้น บัญชีรายชื่อที่ได้คะแนนรวมทั้งประเทศไม่ถึงร้อยละ 5 ให้ถือว่าไม่มี ส.ส. จากบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น เมื่อตัดบัญชีรายชื่อและคะแนนของบัญชีรายชื่อเหล่านี้ออกไปแล้ว บัญชีที่เหลือแต่ละบัญชีจะมี ส.ส.ได้กี่คน ขึ้นอยู่กับว่าบัญชีรายชื่อนั้นได้คะแนนรวมร้อยล่ะเท่าไร

      วิธีการนับคะแนน
ในการนับคะแนนให้เอาคะแนนที่แต่ละบัญชีรายชื่อได้รับจาก 400 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศมารวมกัน วิธีคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้ทำดังนี้
  • ให้จำนวนคะแนนเสียงแบบบัญชีรายชื่อรวม 400 เขตเลือกตั้งทั้งประเทศ = A
  • บัญชีรายชื่อใดได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 5 ของ A ให้ตัดออกไป
  • เมื่อตัดบัญชีรายชื่อที่ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 5 ออกไปแล้ว ให้จำนวนคะแนนเสียงจาก บัญชีรายชื่อที่เหลือรวมกันทั้งประเทศเท่ากับ B
  • ให้ถือ B/100 = 0.01 B เป็นคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน
  • คะแนนเสียงที่บัญชีรายชื่อได้รับ/0.001 B = จำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อนั้น + เศษ/0.01 B ผู้ที่ได้เป็น ส.ส. คือรายชื่อแรกของบัญชีรายชื่อ ไล่ไป ตามลำดับจนครบจำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อนั้น
          ถ้ารวมจำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งแล้วยังไม่ครบ 100 คน ให้เพิ่ม ส.ส. ให้แก่บัญชีรายชื่อที่มีเศษมากที่สุดอีกหนึ่งคน เรียงตามลำดับจนกว่าจำนวน ส.ส. รวมแล้วได้ 100 คน

    ตัวอย่างการคิดคะแนน
     1. รวมคะแนนแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ สมมติว่า มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ๗
พรรคการเมือง แต่ละบัญชีมีคะแนนรวมจาก 400 เขต ทั่วประเทศ ดังนี้
พรรคการเมืองคะแนนรวมพรรคการเมือง
พรรคที่ 1
พรรคที่ 2
พรรคที่ 3
พรรคที่ 4
พรรคที่ 5
พรรคที่ 6
พรรคที่ 7
4,050,000
6,120,000
700,000
12,500,000
7,330,000
900,000
1,400,000
คะแนนรวม
33,000,000
      2.หักคะแนนของพรรคที่ได้ไม่ถึง ร้อยละ 5 ของ คะแนนรวมทุกบัญชี (33,000,000 คะแนน) ซึ่งก็คือไม่ถึง 1,650,000 คะแนน ในกรณีตัวอย่างนี้คือ
พรรคการเมืองคะแนนรวมพรรคการเมือง
พรรคที่ 3
พรรคที่ 6
พรรคที่ 7
700,000
900,000
1,400,000
คะแนนรวม
3,000,000
        ดังนั้น คะแนนรวมที่เอาออก คือ 3,000,000 คะแนน ซึ่งต้องหักจากคะแนนรวมทุกบัญชี คือ 33,000,000 - 3,000,000 = 30,000,000 คะแนน
        3. คำนวณคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน โดยนำคะแนนรวมทุกบัญชีที่หักคะแนนรวมของพรรคที่ไม่ถึงร้อยละ ๕ ออก แล้วหารด้วย ๑๐๐ คือ
30,000,000= 300,000 คะแนน
100
       4. หารคะแนนรวมของพรรค ด้วยคะแนนเฉลี่ย (300,000) จะได้
พรรคการเมืองคะแนนรวมจำนวน ส.ส.เศษคะแนน
พรรคที่ 1
พรรคที่ 2
พรรคที่ 4
พรรคที่ 5
4,050,000
6,120,000
12,500,000
7,330,000
13 คน
20 คน
41 คน
24 คน
150,000
120,000
200,000
130,000
รวม  
98 คน 
        5. เนื่องจากได้ ส.ส. ไม่ครบ 100 คน (ขาดไป 2 คน) จึงต้องเพิ่มจำนวนให้กับพรรคที่เหลือเศษคะแนนมากที่สุดเรียงลงไปอีก 2 พรรค ๆ ละ 1 คน ในกรณีนี้ได้แก่พรรคที่ 4 (มีเศษคะแนน 200,000) และพรรคที่ 1 (มีเศษคะแนน 150,000) ทั้ง 2 พรรคจะได้ ส.ส. เพิ่มอีก พรรคละ 1 คน ทำให้ได้ ส.ส. ครบ 100 คน
      6. ดังนั้น ผลการคำนวณสัดส่วนคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ ผู้ที่ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคตามตัวอย่างนี้คือ
พรรคการเมืองคะแนนรวมพรรคการเมือง
พรรคที่ 1
พรรคที่ 2
พรรคที่ 4
พรรคที่ 5
ลำดับที่ 1-14
ลำดับที่ 1-20
ลำดับที่ 1-42
ลำดับที่ 1-24
คะแนนรวม
3,000,000
  flag.gif (6256 bytes)ความรู้เรื่องการเลือกตั้งของไทย
ประชาชนมีหน้าที่เลือกตั้ง
      มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้การไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของบุคคลเหมือนกับ หน้าที่การเสียภาษี ดังนั้นบุคคลที่มีสัญญาติไทยโดยการเกิด หรือได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในเขตเลือกตั้ง หรือนอกเขตเลือกตั้ง หรือแม้แต่พำนักอยู่ในต่างประเทศ ทุกคนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

    บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
2. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งการใช้สิทธิเลือกตั้ง
    ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. ผู้ที่มีสัญชาติไทย ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

    การตรวจดูรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ
2. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
3. ประชาชนสามารถไปตรวจดูรายชื่อ และขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งปี

บัตรเลือกตั้ง
    บัตรเลือกตั้งมี 2 แบบ
1. บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
2. บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

     ลักษณะของบัตรเลือกตั้งมีสีต่างกัน และมีต้นขั้วบัตรเลือกตั้งสำหรับพิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่มือขวา ที่มุมบนด้านขวาของบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 แบบ

    วิธีการใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง
1. แสดงบัตรประจำประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ที่หน่วยเลือกตั้ง
2. รับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 แบบ (บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 1 ใบ และบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 1 ใบ)
3. พิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่มือขวาที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว (ถ้ามีการร้องเรียนว่าที่หน่วยเลือกตั้งนั้นมีการทุจริตการเลือกตั้ง ต้นขั้วนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญในการตรวจสอบ)
4. เข้าคูหา ทำเครื่องหมายกากบาทในบัตรเลือกตั้ง
    - กากบาทเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงหมายเลขเดียว ที่บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
    - กากบาทเลือกพรรคการเมืองเพียงหมายเลขเดียว ที่บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
    - ถ้าไม่ต้องการลงคะแนนให้ใคร หรือพรรคการเมืองใด กากบาทที่ช่องไม่ลงคะแนน
5. หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยตนเองทีละใบ ต่อหน้ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
     ปัจจุบันการเลือกตั้งมี 2 แบบ คือ
1. การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
2. การเลือกตังแบบบัญชีรายชื่อ
     การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
    ส.ส. จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตมีจำนวน 400 คน
      มาตรา 98 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า "สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 99 จำนวน 100 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 102 จำนวน 400 คน" เลือกตั้ง ส.ส. เขตละ 1 คน
      มาตรา 102 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละ 1 คน"
      มาตรา 103 วรรค 1 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า "จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 1 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 1 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง มีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีโดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน"ดังนั้นประเทศไทยจึงมีเขตเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 400 เขต

     การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
      การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรค โดยทั่วไปเรียกว่าเลือกตั้งแบบสัดส่วน พรรคต่าง ๆ จะได้ รับจำนวนที่นั่งในสภาฯ ตามสัดส่วนของคะแนนที่ได้รับ สำหรับพรรคที่ได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 5 ของคะแนนทั้งหมด ก็จะไม่ได้ที่นั่งในสภาฯ จากการเลือกตั้งระบบนี้
      การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครโดยเสนอเป็นรายชื่อเรียงลำดับไม่เกินบัญชีรายชื่อละ 100 คน บุคคลในบัญชีรายชื่อจะต้องไม่ซ้ำกับผู้สมัครแบบแบ่งเขต และผู้สมัครในบัญชีรายชื่อพรรคอื่น นอกจากนี้จะต้องประกอบด้วยรายชื่อจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม (ไม่ใช่มีแต่คนกรุงเทพฯ หรือคนในภูมิภาคหนึ่งใดโดยเฉพาะ) เมื่อมีการสมัครแล้วหมายเลขที่บัญชีรายชื่อนั้นได้รับ จะถือว่าเป็นหมายเลขประจำพรรคการเมืองนั้น ทั้งนี้การรับสมัครแบบแบ่งเขตจะกระทำขึ้นภายหลัง โดยผู้สมัครแบบแบ่งเขตที่ส่งโดยพรรคใดจะได้รับหมายเลขเดียวกันกับพรรคนั้น บัญชีรายชื่อที่ได้คะแนนรวมทั้งประเทศไม่ถึงร้อยละ 5 ให้ถือว่าไม่มี ส.ส. จากบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น เมื่อตัดบัญชีรายชื่อและคะแนนของบัญชีรายชื่อเหล่านี้ออกไปแล้ว บัญชีที่เหลือแต่ละบัญชีจะมี ส.ส.ได้กี่คน ขึ้นอยู่กับว่าบัญชีรายชื่อนั้นได้คะแนนรวมร้อยล่ะเท่าไร

      วิธีการนับคะแนน
ในการนับคะแนนให้เอาคะแนนที่แต่ละบัญชีรายชื่อได้รับจาก 400 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศมารวมกัน วิธีคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้ทำดังนี้
  • ให้จำนวนคะแนนเสียงแบบบัญชีรายชื่อรวม 400 เขตเลือกตั้งทั้งประเทศ = A
  • บัญชีรายชื่อใดได้รับคะแนนไม่ถึงร้อยละ 5 ของ A ให้ตัดออกไป
  • เมื่อตัดบัญชีรายชื่อที่ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 5 ออกไปแล้ว ให้จำนวนคะแนนเสียงจาก บัญชีรายชื่อที่เหลือรวมกันทั้งประเทศเท่ากับ B
  • ให้ถือ B/100 = 0.01 B เป็นคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน
  • คะแนนเสียงที่บัญชีรายชื่อได้รับ/0.001 B = จำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อนั้น + เศษ/0.01 B ผู้ที่ได้เป็น ส.ส. คือรายชื่อแรกของบัญชีรายชื่อ ไล่ไป ตามลำดับจนครบจำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อนั้น
          ถ้ารวมจำนวน ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งแล้วยังไม่ครบ 100 คน ให้เพิ่ม ส.ส. ให้แก่บัญชีรายชื่อที่มีเศษมากที่สุดอีกหนึ่งคน เรียงตามลำดับจนกว่าจำนวน ส.ส. รวมแล้วได้ 100 คน

    ตัวอย่างการคิดคะแนน
     1. รวมคะแนนแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ สมมติว่า มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ๗
พรรคการเมือง แต่ละบัญชีมีคะแนนรวมจาก 400 เขต ทั่วประเทศ ดังนี้
พรรคการเมืองคะแนนรวมพรรคการเมือง
พรรคที่ 1
พรรคที่ 2
พรรคที่ 3
พรรคที่ 4
พรรคที่ 5
พรรคที่ 6
พรรคที่ 7
4,050,000
6,120,000
700,000
12,500,000
7,330,000
900,000
1,400,000
คะแนนรวม
33,000,000
      2.หักคะแนนของพรรคที่ได้ไม่ถึง ร้อยละ 5 ของ คะแนนรวมทุกบัญชี (33,000,000 คะแนน) ซึ่งก็คือไม่ถึง 1,650,000 คะแนน ในกรณีตัวอย่างนี้คือ
พรรคการเมืองคะแนนรวมพรรคการเมือง
พรรคที่ 3
พรรคที่ 6
พรรคที่ 7
700,000
900,000
1,400,000
คะแนนรวม
3,000,000
        ดังนั้น คะแนนรวมที่เอาออก คือ 3,000,000 คะแนน ซึ่งต้องหักจากคะแนนรวมทุกบัญชี คือ 33,000,000 - 3,000,000 = 30,000,000 คะแนน
        3. คำนวณคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน โดยนำคะแนนรวมทุกบัญชีที่หักคะแนนรวมของพรรคที่ไม่ถึงร้อยละ ๕ ออก แล้วหารด้วย ๑๐๐ คือ
30,000,000= 300,000 คะแนน
100
       4. หารคะแนนรวมของพรรค ด้วยคะแนนเฉลี่ย (300,000) จะได้
พรรคการเมืองคะแนนรวมจำนวน ส.ส.เศษคะแนน
พรรคที่ 1
พรรคที่ 2
พรรคที่ 4
พรรคที่ 5
4,050,000
6,120,000
12,500,000
7,330,000
13 คน
20 คน
41 คน
24 คน
150,000
120,000
200,000
130,000
รวม  
98 คน 
        5. เนื่องจากได้ ส.ส. ไม่ครบ 100 คน (ขาดไป 2 คน) จึงต้องเพิ่มจำนวนให้กับพรรคที่เหลือเศษคะแนนมากที่สุดเรียงลงไปอีก 2 พรรค ๆ ละ 1 คน ในกรณีนี้ได้แก่พรรคที่ 4 (มีเศษคะแนน 200,000) และพรรคที่ 1 (มีเศษคะแนน 150,000) ทั้ง 2 พรรคจะได้ ส.ส. เพิ่มอีก พรรคละ 1 คน ทำให้ได้ ส.ส. ครบ 100 คน
      6. ดังนั้น ผลการคำนวณสัดส่วนคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ ผู้ที่ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคตามตัวอย่างนี้คือ
พรรคการเมืองคะแนนรวมพรรคการเมือง
พรรคที่ 1
พรรคที่ 2
พรรคที่ 4
พรรคที่ 5
ลำดับที่ 1-14
ลำดับที่ 1-20
ลำดับที่ 1-42
ลำดับที่ 1-24
คะแนนรวม
3,000,000

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น