เดือนเก้า
เดือนเก้า
บุญข้าวประดับดิน
บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน คือ บุญที่ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า(ประมาณเดือนสิงหาคม) เป็นการนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็ก อย่างละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เป็นการทำบุญที่ชาวบ้าน จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ความเป็นมา
มีเรื่องเล่าไว้ในพระธรรมบทว่าญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์เมื่อตาย
แล้วไป เกิดในนรก ครั้นพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศ
ให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏ
ใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเข้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุ
ุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีกแล้วอุทิศส่วนกุศลปไให้ญาติที่ตาย
ไปจึงได้รับส่วน กุศลการทำบุญข้าวประดับดิน ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติ
ผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณี ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี
มูลเหตุที่ทำ
เนื่องจากคนลาวและไทยอีสาน มีความเชื่อถือสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลแล้วว่า กลางคืนของเดือนเก้าดับ(วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9)เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้นในรอบปี ดังนั้นจึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว
พิธีกรรม
ในตอนเย็นของวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ญาติโยมเตรียมจัดอาหารคาวหวาน และหมากพลู บุหรี่ไว้กะให้ได้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อ ขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง
อาหารคาวหวาน ที่ใส่ห่อนั้นจะจัดใส่ห่ออย่างละเล็กละน้อย อาทิ
1. ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน
2. เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว
3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ ลงไป (ถือเป็นอาหารหวาน)
4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ
หลังจากนั้นนำใบตองมาห่อเข้ากันแล้วใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อย ที่มีลักษณะยาวๆ
หมาก พลู หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ สีเสียด แก่นคูน นำมาห่อใบตองเข้าด้วยกันแล้วไม้กลัดหัวท้าย ก็จะได้ห่อหมาก พลู หลังจากนั้นนำทั้ง 2 ห่อมาผูกกันเป็นคู่ แล้วนำไปมัดรวมเป็นพวง 1 พวง จะใส่ ห่อหมากและห่อพลูจำนวน 9 ห่อ ต่อ 1 พวง
การวางห่อข้าวน้อย หมายถึง การนำห่อข้าวน้อยไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่างๆ พอถึงเวลาประมาณ 03.00 - 04.00 น.ของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะนำเอาห่อข้าวน้อยที่จัดเตรียมได้แล้วไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด วางไว้ตามดินริมกำแพงวัด วางไว้ริมโบสก์ ริมเจดีย์ในวัด การนำเอาห่อข้าวน้อยไปวางตามที่ต่างๆ ในวัดเรียกว่า การยาย(วางเป็นระยะๆ)ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด
หลังจากการยาย (วาง) ห่อข้าวน้อยเสร็จ ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารใส่บาตรในตอนเช้าของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 หลังจากนี้น พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับเรื่องอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดับดินให้ฟัง ต่อจากนั้นชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุกๆ คน
บุญข้าวประดับดิน
บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน คือ บุญที่ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า(ประมาณเดือนสิงหาคม) เป็นการนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็ก อย่างละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เป็นการทำบุญที่ชาวบ้าน จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
|
ความเป็นมา
มีเรื่องเล่าไว้ในพระธรรมบทว่าญาติของพระเจ้าพิมพิสารกินของสงฆ์เมื่อตาย แล้วไป เกิดในนรก ครั้นพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศ ให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏ ใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเข้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุ ุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีกแล้วอุทิศส่วนกุศลปไให้ญาติที่ตาย ไปจึงได้รับส่วน กุศลการทำบุญข้าวประดับดิน ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติ ผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณี ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี |
พิธีกรรม
ในตอนเย็นของวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ญาติโยมเตรียมจัดอาหารคาวหวาน และหมากพลู บุหรี่ไว้กะให้ได้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์ ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อ ขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง
อาหารคาวหวาน ที่ใส่ห่อนั้นจะจัดใส่ห่ออย่างละเล็กละน้อย อาทิ
1. ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน
2.
2. เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว
3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ ลงไป (ถือเป็นอาหารหวาน)
4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ
หลังจากนั้นนำใบตองมาห่อเข้ากันแล้วใช้ไม้กลัดหัวท้ายและตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อย ที่มีลักษณะยาวๆ
หมาก พลู หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ สีเสียด แก่นคูน นำมาห่อใบตองเข้าด้วยกันแล้วไม้กลัดหัวท้าย ก็จะได้ห่อหมาก พลู หลังจากนั้นนำทั้ง 2 ห่อมาผูกกันเป็นคู่ แล้วนำไปมัดรวมเป็นพวง 1 พวง จะใส่ ห่อหมากและห่อพลูจำนวน 9 ห่อ ต่อ 1พวง
การวางห่อข้าวน้อย หมายถึง การนำห่อข้าวน้อยไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่างๆ พอถึงเวลาประมาณ 03.00 - 04.00 น.ของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะนำเอาห่อข้าวน้อยที่จัดเตรียมได้แล้วไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด วางไว้ตามดินริมกำแพงวัด วางไว้ริมโบสก์ ริมเจดีย์ในวัด การนำเอาห่อข้าวน้อยไปวางตามที่ต่างๆ ในวัดเรียกว่า การยาย(วางเป็นระยะๆ)ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด
หลังจากการยาย (วาง) ห่อข้าวน้อยเสร็จ ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารใส่บาตรในตอนเช้าของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 หลังจากนี้น พระสงฆ์จะแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับเรื่องอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดับดินให้ฟัง ต่อจากนั้นชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุกๆ คน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น