วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 17 ภูมิศาสตร์ประเทศไทย



                           ภูมิศาสตร์ประเทศไทย




        ภูมิรัฐศาสตร์ 
            ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางของผืนแผ่นดินในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งมีพรมแดนธรรมชาติที่เหมาะสมในแง่ภูมิศาสตร์ โดยมีเทือกเขาขนาดใหญ่ และทุรกันดารทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ ดังนี้ 
         ด้านทิศตะวันตก  มีเทือกเขาอารกันโยมา อันเป็นสาขาของเทือกเขาหิมาลัย  ทำให้เกิดป่าดงดิบทึบ เป็นการแยกประเทศพม่าออกจากประเทศอินเดียโดยสิ้นเชิง  ไม่มีปัญหาเรื่องการมีสายน้ำร่วมกัน  ในสงครามมหาเอเซียบูรพา  กองทัพญี่ปุ่นได้รุกไปทางตะวันตกผ่านไทย ผ่านพม่า มุ่งสู่อินเดียก็มาสิ้นสุดที่แนวเทือกเขาแห่งนี้เท่านั้น 
         ด้านทิศเหนือ  เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่บนที่ราบสูง ยูนนานของประเทศจีนตอนใต้ เป็นสาขาปลายตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ที่ผ่านไปสู่ประเทศจีน  เป็นย่านทุรกันดารเป็นป่าเขายากแก่การคมนาคมทางบก 
         ด้านทิศตะวันออก  เป็นทะเลจีนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิค  อันเป็นพรมแดนทางธรรมชาติอย่างแท้จริงในทางภูมิรัฐศาสตร์ 
         ด้านทิศใต้  เป็นทะเลในด้านอ่าวไทย และมหาสมุทรอินเดีย  จึงมีสภาพพรมแดนทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับด้านทิศตะวันออก 
            ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ ดังกล่าวมาแล้วทำให้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ อันประกอบด้วย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย  มีปราการทางธรรมชาติ ที่เกื้อกูลต่อความปลอดภัยร่วมกันได้เป็นอย่างดี 
ขนาดของประเทศไทย
             จากหลักฐานของกรมแผนที่ทหาร  ประเทศไทยมีพื้นที่ ประมาณ ๕๑๑,๙๓๗ ตารางกิโลเมตร ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่เป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๓ จนถึงปัจจุบัน 
            ในระหว่างกรณีพิพาทอินโดจีน  ประเทศไทยได้พื้นที่เดิมที่เสียให้แก่ฝรั่งเศส  ในพื้นที่สี่จังหวัดทางภาคตะวันออกของไทย คือ จังหวัดพระตะบอง (เขมร)  เสียมราฐ (เขมร)  นครจำปาศักดิ์ (ลาว) ล้านช้าง (ลาว)  เป็นพื้นที่ประมาณ ๖๙,๐๒๙ ตารางกิโลเมตร และในสงครามมหาเอเซียบูรพา  ประเทศไทยได้รับดินแดนคืนจากที่เสียให้แก่อังกฤษ คือ สหรัฐไทยเดิม เป็นพื้นที่ประมาณ ๓๙,๘๕๕ ตารางกิโลเมตร และ ๔ รัฐมาลัย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี (เคดาร์) และปะลิส  เป็นพื้นที่ประมาณ ๓๓,๒๔๕ ตารางกิโลเมตร 
            เมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง ไทยจำต้องคืนดินแดนที่ได้กลับคืนมา คืนกลับไปให้ฝรั่งเศส และอังกฤษไป 
            เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ ที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยแล้ว จะได้ดังนี้ 
                    - เล็กกว่า ประเทศพม่าอยู่  ๖๑,๔๖๑   ตารางไมล์ 
                    - เล็กกว่า ประเทศอินเดีย  ๗    เท่า 
                    - เล็กกว่า ประเทศจีน  ๑๐   เท่า 
                    - เล็กกว่า ประเทศตุรกี  ๑/๓  เท่า 
                    - เล็กกว่า ประเทศฝรั่งเศสเล็กน้อย 
                    - เล็กกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา  ๑๓   เท่า
รูปร่างของประเทศไทย 
            ประเทศไทยมีความยาวที่สุด จากเหนือ จดใต้ ประมาณ ๑,๘๓๓ กิโลเมตร  มีความกว้างที่สุดจากตะวันออก ไปตะวันตกตามแนวเส้นรุ้งที่ผ่านจังหวัดอุบล ฯ - อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาไปทางตะวันตก ประมาณ ๘๕๐ กิโลเมตร  ส่วนที่แคบที่สุดอยู่ที่ตำบลห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความกว้าง ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และตอนแคบที่สุดของแหลมมลายูอยู่ที่ตรงคอคอดกระ กว้างประมาณ ๖๔ กิโลเมตร 
            รูปร่างของประเทศไทยที่กล่าวกันไว้มีอยู่สามภาพด้วยกันคือ เป็นรูปกระบวยตักน้ำ เป็นรูปขวานโบราณ และเป็นรูปหัวช้างมีงวงทอดลงไปในทะเลใต้  สรุปแล้วประเทศไทยมีส่วนยาวเป็นสองเท่าของส่วนกว้าง และครึ่งหนึ่งของส่วนยาวเป็นส่วนแคบ ๆ ทอดยาวลงไปทางใต้  เราอาจแบ่งรูปร่างของประเทศไทยออกอย่างกว้าง ๆ เป็นสองส่วนคือ

2
เดือนเก้า 





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น