ประเพณีการบวช
ประเพณีการบวช ถือเป็นประเพณีที่เคร่งครัด เชื่อว่าการบวชสามารถอบรมให้เป็นคนดีได้
ผู้ชายเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป มักจะบวชเรียน ก่อนเข้าพรรษา ( แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) ผู้ชายจะเข้าพิธีบวชพร้อม ๆ กัน และประเพณีการบวชจะมีการกวนขนมชนิดหนึ่งคือ " ยาหนม " เป็นขนมที่ต้องมีในงานบวช
พีธีการบวช
1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมสงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย
2. หลังจากนั้นอาบบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาวห่มขาว เรียกว่า " เจ้านาค "
3. กลางคืนจัดให้พี่พิธีสงฆ์เรียกว่า " การสวดผ้า " เจ้านาคต้องมีไตรจีวร และจะมีการทำขวัญนาคด้วยในคืนนี้
4. จะมีการแห่นาคในวันบวชวันรุ่งขึ้น แห่รอบโบสถ์ 3 รอบ เป็นการบูชาพระพุทธศาสนา ขณะที่แห่จะมีการว่าเพลง " คำตัก "
ขบวนแห่นาคไปวัดพร้อมพ่อแม่และญาติมิตร
5. เมื่อครบ 3 รอบ นาคจะจุดธูปเทียน บูชาพัทธสีมา มีการกรวดน้ำ
ให้เจ้านาครู้จักพระรัตนตรัย
6. หลังจากนั้นญาติจะช่วยกันอุ้มนาคเข้าอุโบสถ ห้ามเหยียบธรณีประตู พ่อแม่นาคส่งไตรครองให้นาค เพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ ถวายพระกรรมวาจาจารย์ ( พระคู่สวด ) และพระอนุสาวนาจารย์ ท่านล่ะ 3 กรวย จากนั้นกล่าวคำขอบรรพชา รับศีล 10 พระอุปัชฌาย์คล้องบาตรสะพาย พระคู่สวดจะประกาศว่าผู้ชื่อนั้น ๆ ได้มาขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วตั้งคำถามเป็นข้อ ๆ เรียกว่า " ขานนาค "
7. เมื่อขานนาคเสร็จ นาคขออุปสมบทต่อคณะสงฆ์ คณะสงฆ์กล่าว อนุศาสน์ ( ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควรปฏิบัติขณะที่บวช)
กล่าวอนุศาสน์
8. เมื่อจบอนุศาสน์ พระบวชใหม่ถวายของบูชาพระคุณแก่คณะสงฆ์ จากนั้นรับของอถวายเครื่องไทยธรรมจากญาติ ขณะเดี๋ยวกันจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา ญาติ เป็นอันเสร็จพิธี
รับเครื่องสักการะจากบรรดาญาติที่นำมาถวาย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น