วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เศรษฐกิจของประเทศไทย

เศรษฐกิจของประเทศไทย



ประเทศไทยเมื่อราวร้อยปีที่แล้วเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ผลผลิตที่สำคัญที่สุดคือ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งนอกจากการกสิกรรมแล้ว ยังรวมถึงผลผลิตจากป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์และจับสัตว์น้ำด้วย แต่เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนเป็นแบบผลิตเพื่อขายหรือระบบทุนนิยมมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา มูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับจนแซงหน้าเกษตรในปี พ.ศ.2524
        ในปัจจุบันแม้ว่าการเกษตรจะเป็นอาชีพหลักของประชากรไทยในแง่ที่ว่าแรงงานร้อยละ 50 ยังคงทำงานภาคเกษตร แต่มูลค่าของผลผลิตจากการเกษตร (รวมทั้งปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้) ที่คิดอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีเพียงราวร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมเท่านั้น
        โครงสร้างการผลิตของไทยในปัจจุบันเศรษฐกิจสาขาที่มีมูลค่าสูงสุด คือ อุตสาหกรรม รองลงมาคือ การค้าส่งและค้าปลีก และบริการ (ที่รวมถึงการท่องเที่ยว การให้บริการต่าง ๆ ) การขนส่งและการคมนาคม สาขาการธนาคาร ประกันภัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
        แต่การที่ประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังอยู่ในภาคเกษตร ทำให้จริง ๆ แล้วเศรษฐกิจภาคเกษตรของไทยยังมีความสำคัญสูงอยู่ ภาคเกษตรทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในกิจการค้า การแปรรูปอุตสาหกรรม และอื่น ๆ สูง และเกษตรกรเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ การที่โครงสร้างการผลิตของคนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตรที่ประสิทธิภาพการผลิตล้าหลังและมีรายได้ต่ำ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่าไม่สมดุลและถึงจุดหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย
ปัญหาภาคการเกษตรล้าหลังและการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม
        นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจระบบตลาดแบบผูกขาด ไม่มีการแข่งขันเสรีเป็นธรรมจริง ทำให้คนมีรายได้ปานกลางและสูงมีรายได้สูงเพิ่มขึ้นกว่าคนมีรายได้ต่ำหลายเท่า เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนในอัตราที่สูงกว่าเดิม
        สาเหตุของปัญหาการกระจายทรัพย์สินรายได้ที่ไม่ทั่วถึงนั้นเป็นผลมาจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐบาล ซึ่งเน้นการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโดยส่วนรวม โดยมุ่งส่งเสริมการลงทุนต่างชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจภาคในเมืองเพื่อนายทุนขนาดใหญ่ขนาดกลาง มากกว่าที่จะกระจายการพัฒนาสู่ภาคเกษตรหรือภาคชนบท รวมทั้งรัฐไม่ได้พัฒนาเรื่องการศึกษาอบรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการยกระดับประสิทธิภาพและค่าจ้างของคนงานอย่างจริงจัง
        สาเหตุของปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ยังมีพื้นฐานมาจากระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีลักษณะการกระจายการถือครองปัจจัยการผลิตและทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน ทุน ที่มีความไม่เป็นธรรมสูง คนที่มีที่ดินมากเป็นร้อยเป็นพันไร่ หรือมีที่ดินในกรุงเทพฯ มูลค่าหลายพันล้านบาทซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม ยิ่งนับวันก็ยิ่งได้ประโยชน์จากค่าเช่า และการที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นในอัตราสูงมาก โดยเฉพาะค่าเช่าและราคาที่ดินในเมืองย่านการค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ขณะที่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย นอกจากจะไม่มีทางหารายได้จากทรัพย์สินตัวนี้แล้ว ยังจะต้องเป็นเสียรายจ่ายในรูปของค่าเช่าหรือการซื้อที่อยู่อาศัยแบบผ่อนส่งด้วย
        ในเรื่องทุนก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นเจ้าของกิจการมีหุ้น มีเงินฝากธนาคารและเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถให้ดอกผลในรูปกำไร เงินปันผล ดอกเบี้ย ในอัตราทวีคูณ ยิ่งคนมีทุนมากหรือมีอำนาจในเชิงผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดก็ยิ่งได้ดอกผลมาก และสามารถสะสมสืบทอดให้ลูกหลานสร้างความมั่งคั่งในอัตราสูง ขณะที่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีทุน นอกจากจะไม่ได้ดอกผลเหล่านี้แล้ว ยังมักต้องเป็นลูกนี้เงินกู้ เป็นฝ่ายเสียดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนการทำงานและเลี้ยงชีพสูงขึ้น
            
โลกาภิวัฒน์
                       
        คำว่า “โลกาภิวัตน์” ฟังดูเหมือนกับว่าเศรษฐกิจทุกประเทศกำลังพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน เป็นระบบเศรษฐกิจเดียวกันแต่จริง ๆ แล้วเป็นเศรษฐกิจที่ผูกขาดและบงการโดยแระเทศพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงสิบกว่าประเทศ ควบคุมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ กิจการค้า การขนส่ง การประกันภัยระหว่างประเทศ โดยผ่านบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า บริษัททุนข้ามชาติ (Transnational Corporation) บริษัทข้ามชาติแต่ละแห่งมีสาขาตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
        ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ฯลฯ ยังเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ทุนอุดหนุนภาคเกษตรของตนและใช้นโยบายกีดกันสินค้าเกษตรจากประเทศอื่น ๆ 
        เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับผลกำไรที่ได้จากการลงทุนและการค้ากับต่างประเทศมาก ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถขายสินค้าอุตสาหกรรม หรือแม้แต่สินค้าเกษตรกรรมบางอย่างของตนได้ในราคาสูงกว่าที่ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถขายวัตถุดิบและสินค้าเกษตรของตนได้ เพราะประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมีอำนาจต่อรองในตลาดโลกสูงกว่า ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ต้องขาดดุลการค้า คือ ซื้อสินค้าเข้าเป็นมูลค่าสูงกว่าที่ส่งออกไปขายได้ และต้องเป็นหนี้สินต่างประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ

บทที่ 2 ประเทศอาเซียน


ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ



ประเทศอาเซียน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก flagspot.net , สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

          ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

 รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 

บรูไน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน"เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลของประเทศบรูไนได้ที่นี่ 

กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

           อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่

อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย ได้ที่นี่

ลาว

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

           อ่านข้อมูลประเทศลาว ได้ที่นี่

มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศมาเลเซีย ได้ที่นี่

ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์ ได้ที่นี่

สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

           อ่านข้อมูลประเทศสิงคโปร์ ได้ที่นี่

ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

           อ่านข้อมูลประเทศไทย ได้ที่นี่ 

เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

           อ่านข้อมูลประเทศเวียดนาม ได้ที่นี่ 

ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศพม่า ได้ที่นี่


ประเทศอาเซียน

          ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

           1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

           2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

                มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

                ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

                 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

                ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
  
          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

ความร่วมมือ


           3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
 

บทที่ 3 ประวัติศาสดาศาสนาพุทธ




ประวัติศาสดา(ศาสนาพุทธ)
 ประวัติศาสดา    พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ้งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงมีพระนามว่า พระนางสิริมหามายา ซึ้งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชกุลโกลิยวงศ์ แห่งกรุงเทวหะ     เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติได้เสด็จกลับกรุงเทวหะแต่เมื่อขบวนเสด็จไปถึงสวนลุมพินี ซึ้งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวหะ พระนางก็ทรงประชวรพระครรภ์และประสูติพระราชโอรสข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์

พระราชกุมารได้รับขนานพระนามว่า สิทธัตถะ (แปลว่าผู้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์) ประสูติได้ 7 วันพระราชมารดาก็สวรรคต พระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระมาตุกา ได้รับเป็นผู้เลี้ยงดูพระราชกุมารแทน พระราชกุมารสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาทุกอย่างเท่าที่จำเป็นสำหัรบพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครจะพึงศึกษาจากพระครูวิศวามิตร เมื่อพระองค์อายุได้ 16 พรรษาก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตตาแห่งเทวหนครทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล                                                                                                                                                                                   พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงต้องการให้พระราชโอรสอยู่ครองราชสมบัติแทนจึงทรงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขทุกอย่างให้พระราชกุมาร เช่นทรงสร้างปราสาท 3 หลัง สำหรับประทับ 3 ฤดู และทรงอำนวยความสะดวกสบายทุกอย่างให้ แต่พระราชกุมารสิทธัตถะก็ทรงมิได้หมกหมุ่นในความสุขเหล่านั้น เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับทรงคิดไว้ว่า ชีวิตทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นและวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนในที่สดพระองค์ก็ได้ตัดสินใจเสด็จออกผนวชในตอนดึกของคืนวันหนึ่ง ทรงตัดพระเมาลีอธิฐานเพศบรรพชิตริ่มฝั่งแม่น้ำอโนมา เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษาหลังพระราหุลประสูติได้เล็กน้อย

จากนั้นเสด็จไปยังแคว้นมคธ ศึกษาในสำนักอาฬาลดาบสและอุทกดาบสรามบุตรจนสิ้นความรู้ของอาจารย์จึงทรงลาอาจารย์ไปบำเพ็ญเพียรที่อุรุเวลวเสนานิคมในช่วงนั้นมีปัญจวัคคีย์มาคอยปฏิบัติอยู่ด้วย พระองค์ทรงทรมานพระวรกายในที่สุดทรงกระทำ ทุกรกิริยา ก็ทรงไม่สามารถบรรลุได้ จึงทรงหันมาบำเพ็ญเพัยรทางจิตจนเกิดพระปัญญาได้ตรัสรู้ความจริงอันสูงสุด เรียกว่า อริยสัจ4 คือ

1.ทุกข์ได้แก่ความทุกข์หรือปัญญาชีวิตทั้งหมด 2. สมุทัยได้แก่สาเหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา

3.นิโรธ ได้แก่ความดับทุกหรือการหมดปัญหา 4.มรรคได้แก่ทางดับทุกข์หรือวิธีแก้ปัญหา

พระองค์ทรงตัสรู้คาวมจริงอันประเสริฐนี้ในเวลาย่ำรุ่งของคืนวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษาพระ-องค์จึงทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธหรือพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ง ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปแสดงธรรมโปรดปัญจัคคีย์การแสดงธรรมครั้งแรกนี้เรียกว่า ธัมจักรกัปปวัคนสูตร ปัญจัคคีย์ได้ทรงขอผนวชในพระพุทธศาสนาต่อจากนี้ได้มีผู้เลื่อมเข้ามาบวชประพฟติตามอย่างพระอง์เคลื่อนที่ตามลำดับจนมีพระสงฆ์มากขึ้น และพระพุทธศาสนาหยั่งรากมั่นคงในแคว้นมคธ โดยพระบรมราชูปถัมป์ของพระเจ้าพิมพิสาร และในกาลต่อมาทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแคว้นโกศลของพระเจ้าปเสนที่โกศล เมื่อประดิษพระพุทธศานาแพร่หลายแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธ์ที่ป่าสาระ นอกกรุงกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละภาคเหนือของประเทศอินเดียเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็ทรงปรินิพพาน

วาระสุดท้ายแห่งพระชนชีพ

พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 อย่างคือ

1.    ตอนเที่ยงทรงแก้ปัญหาเทวดาที่มาทูลถาม
2.    ตอนใกล้รุ่งทรงสอดส่องพระญาณหาบุคลผู้มีอุปนิสัยที่พอจะช่วยเหลือได้
3.    ตอนเช้าตรู่ทรงออกบิณฑบาต โดยโปรดสัตว์ตามที่ปรากฏในพระญาณของพระองค์
4.    ตอนบ่ายทรงแสดงธรรมแด่ประชาชน
5.    ตอนค่ำทรงแสดงธรรมแด่ภิกษุ
นอกจากนี้แล้วยังทรงบำเพ็ญจริยา 3 คือ

1.    โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก
2.    ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อพวกญาติ
3.    พุทธัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า











บทที่ 4 ตำนานการเกิดบั้งไฟพญานาค


                                                     ตำนานการเกิดบั้งไฟพญานาค
ตามตำนานการเกิดบั้งไฟพญานาค ได้กล่าวไว้ว่า...ตามพุทธประวัติความเป็นมาเมื่อครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าได้ตรัสรู้ พระองค์ได้เสด็จเผยแพร่พระศาสนาไปทั่วชมพูทวีป พญานาคีได้เกิดความเลื่อมใสและศรัทธายิ่ง จึงได้จำแลงกายเป็นบุรุษเพื่อขอบวชเป็นสาวก ค่ำคืนหนึ่งพญานาคีได้เผลอหลับไหลไปและคืนร่างเดิม พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องจึงขอให้ลาสิกขา เนื่องจากเป็นเดรัจฉานจะบวชเป็นภิกษุมิได้ พญานาคีจึงยอมทำตามคำขอแต่ขอว่ากุลบุตรทั้งปวงที่จะบวชให้เรียกขานว่า ''นาค'' เพื่อเป็นศักดิ์ศรีของพญานาคก่อนเข้าโบสถ์ จากนั้นเป็นต้นมาจึงเรียกขานกุลบุตรทั้งหลายที่จะบวชว่า ''พ่อนาค'' ต่อมาเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อกลับสู่โลกมนุษย์ เหล่าบรรดาพญานาคี นาคเทวี พร้อมทั้งเหล่าบริวารจัดทำเครื่องบูชาและพ่นบั้งไฟถวาย ซึ่งต่อมาชาวบ้านเรียกว่า ''บั้งไฟพญานาค''

บั้งไฟพญานาคปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้
บั้งไฟพญานาค หรือ บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ชัดเจนได้ โดยมีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง มีตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินลาว ซึ่งอาจตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของไทย โดยแต่ละปีจะปรากฏขึ้นประมาณ 3-7 วันมากกว่า 90% ของจำนวนลูกบั้งไฟพญานาคในแต่ละปี จะพบที่จังหวัดหนองคาย หน้าวัดไทย และบ้านน้ำเป อำเภอโพนพิสัย วัดอาฮง อำเภอบึงกาฬ วัดหินหมากเป้ง และอ่างปลาบึก อำเภอสังคม ผู้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคหลายกลุ่ม พยายามอธิบายที่มาของปรากฏการณ์นี้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น คาดว่าอาจจะเป็นก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัส ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ใต้น้ำ

ข้อมูลเพิ่มเติมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อ.โพนพิสัย
-หลวงพ่อพระเสี่ยง พระคู่บ้านคู่เมืองชาวโพนพิสัยเป็นตำนานเล่าขานจากการสร้างของบุตรธิดา กษัตริย์ลาว ได้สร้างพระเสี่ยง,พระสุก, พระใส ซึ่งคนไทยที่อัญเชิญจะไปประดิษฐ์ที่ วัดพระแก้ว แต่ไม่สามารถชักลากเกวียนไปได้ด้วยปาฏิหาริย์ ชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่า พระเสี่ยงอยากประดิษฐ์สถานที่ อ.โพนพิสัย เพื่อให้ทั้งคนไทยและคนลาวได้กราบไหว้ได้และมีความเชื่อว่า ท่านเสี่ยงทายแม่นได้ตามคำอธิฐาน
-หลวงพ่อพระสุก ชาวบ้านได้อัญเชิญมาจากฝั่งลาวขณะข้ามโขงเกิดพายุใหญ่แตกแพแล้วล่ม ทำให้พระสุกจมลงแม่น้ำโขง ชาวบ้านได้พยายามดำน้ำเพื่ออัญเชิญขึ้นมาบนบก แม้องค์ท่านไม่ใหญ่แต่ไม่สามารถชักลากขึ้นมาได้ จึงเชื่อว่าพญานาค ได้ขอบูชาพระสุกไว้ที่ใต้ท้องน้ำไว้เพื่อบูชาสักการะ จนบัดนี้ก็ไม่ได้สามารถนำขึ้นมาได้ จึงเรียกเวิ้งน้ำที่พระสุกจมลงไปที่ อ.โพนพิสัย ว่า เวิ้งพระสุก และได้ทำพิธีบรวงสรวงสร้างองค์จำลองพระสุกปะดิษฐ์สถานที่วัดหลวง อ.โพนพิสัย ซึ่งในวิหารนั้นจะมีน้ำหยดลงจากหลังคาวิหารตลอด จะรื้อสร้างแก้ไขใหม่ก็ยังมีน้ำหยดจน ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นน้ำจากพญานาค ที่ปกป้องรักษาพระสุกแล้วให้น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์มาให้บูชาตลอดทุกฤดูกาล
- ถ้ำพญานาค ที่วัดไทยริมแม่น้ำโข อ.โพนิสัย สร้างจำลองเมืองบาดาลของพญานาค ว่ามีกี่ชั้นและมีพิธีสะเดาะเคราะห์
- วัดโพธิ์ชัย อ.โพนพิสัย ที่ประดิษฐ์สถานพระทองสัมฤทธิ์เก่าแก่นับพันปี และหลักศิลาจารึกลาว

บทที่ 6 วันออกพรรษา

วันออกพรรษา 2556 ประวัติวันออกพรรษา

วันออกพรรษา วันมหาปวารณา บั้งไฟพญานาค
วันออกพรรษา 2556 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร

วันออกพรรษา วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2556

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 
        วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์ 
     
     วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน  ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ 


     วันออกพรรษา เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน

วันออกพรรษา วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก 
วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
หลังจากทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา

วันออกพรรษา หรือวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก


       ในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา (3เดือน) ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน และ บันไดทอง และ บันไดแก้ว ซึ่งสักกเทวราช (พระอินทร์) ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ที่ ประตูเมืองสังกัสนคร ที่นั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนต่างมารอรับตักบาตรภัตตาหารกันอย่างเนืองแน่นชาวพุทธจึงยึดถือปรากฎการณ์ในวัน แรม1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ เรียก “วันเทโวโรหณะ” และ วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก เพราะวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และ บาดาล (นรก) ต่างสามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง 3 โลก

ความสำคัญของวันออกพรรษา

วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลดังนี้
      1. หลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
      2. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน
      3. ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน
      4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา


     เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแย้งกันจนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร)  เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า
     “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”

การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย

   
     วันออกพรรษา เป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรง ที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญ มักนิยมไปทำทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ
     นอกจากนี้ ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ประเพณีตักบาตรเทโว”
วันออกพรรษา 2554 
วันออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลก
ทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ 
     คำว่า “ตักบาตรเทโว” มาจากคำเต็มว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ”  คือการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงบยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ) ที่ต้นมะม่วงใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ 7 บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน ครั้นออกพรรษาแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ

หลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

      ในเทศกาลออกพรรษา มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติ คือ ปวารณา การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
       1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมมูล
      
2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจดังมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้
การปวารณา จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยงานราชการ เป็นต้น

 วัตถุประสงค์ของกิจกรรมวันออกพรรษา

     1. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ
     2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในวันออกพรรษา และสามารถเลือกสรรหลักธรรม คือปวารณา ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนและสังคม
     3. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา
     4. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา
     
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้อง
 
วันออกพรรษา หรือวันมหาปวารณา

วันมหาปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์
         เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่เมืองสังกัสสะนครนั้น พระองค์ทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเป็น “วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก” 
วันออกพรรษา ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิต ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตัวเตือน ทั้งกาย วาจา ใจ ส่วนผู้ถูกตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้กล่าวตักเตือน โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันโดยมีความหมายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันในสามลักษณะคือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี และด้วยการสงสัยก็ดี” 
ประเพณีของชาวพุทธที่นิยมกระทำในเทศกาลออกพรรษาคือ 
วันออกพรรษา-ตักบาตรเทโวโรหณะ
ประเพณีตักบาตรเป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล


     1. ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ โดยในหลายที่ยังทำเป็นข้าวต้มลูกโยน มาไว้สำหรับใส่บาตรการตักบาตรเทโวเริ่มมาตั้งแต่ตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนจึงได้พร้อมใจกันนำภัตตาหารมาถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จนั้นมีจำนวนมาก บางพวกที่อยู่ห่างจึงไม่สามารถใส่อาหารลงในบาตรได้ จึงต้องทำข้าวให้เป็นก้อน แล้วโยนใส่บาตร จนกระทั่งเป็นประเพณีนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
     
     ตักบาตรเทโว หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษาตามความเชื่อของพระพุทธศาสนิกชนว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา
      
“เทโว” ย่อมาจากคำว่า “เทโวโรหนะ” ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หมายถึง เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิณาณ แล้วทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่างๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองคุณพระมารดา ซึ่งหลังจากประสูติพระองค์ได้ 7 วัน ก็สิ้นพระชนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชน พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น บางวัดก็ทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน 
พิธีทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ พระภิกษุสามเณรถือบาตรเดินตามไปโดยลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำอาหารมาเรียงรายกันอยู่เป็นแถว ตามแนวทางที่รถบุษบกนั้นจะผ่านเพื่อตักบาตร ของที่นิยมใช้ตักบาตรเทโว ซึ่งนอกจากเป็นข้าวปลาอาหารทั่วๆ ไปแล้วยังมีข้าวต้มมัดใต้และข้าวต้มลูกโยนอีกด้วย
    การที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่เพียงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เนื่องจากมีพระประสงค์จะให้พระพุทธมารดาได้บรรลุโลกุตรธรรมอันเป็นธรรมชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้




      
2. ประเพณีทอดกฐิน ถือเป็นกาลทาน ที่เป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษาคือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12
มหากฐินสามัคคีณ วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
ประเพณีทอดกฐินมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษา
      นอกจากประเพณีที่ถือปฏิบัติในวันออกพรรษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมและมีผู้สนใจไปร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง คือ การชมบั้งไฟพญานาค ซึ่งเกิดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นคือวันออกพรรษา ซึ่งจะมีพุทธศาสนิกชนไปรอชมบั้งไฟกันทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัยที่มีปริมาณบั้งไฟขึ้นเยอะกว่าที่อื่นๆ